สมุดสพฐ ราคาถูก !!! มีทั้ง สมุด สพฐ 40 แผ่น และ 80 แผ่น ตราสพฐ ปกสวยๆ

สมุด สพฐ

หลายคนอาจจะคุ้นชินกับสมุดนักเรียน สมุดโรงเรียน ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ภายในโรงเรียนโดยเฉพาะ แต่ก็ยังมีอีกหลายโรงเรียนที่ไม่มีสมุดโรงเรียน เป็นของตัวเอง จึงต้องเลือกใช้สมุด สพฐ. แทน วันนี้เราจึงอยากพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับสมุด สพฐ. ว่าจริงๆ แล้ว สมุดสพฐ คืออะไร รูปแบบเป็นอย่างไร แล้วใช้ทำอะไรได้บ้าง

 

สมุดสพฐ คืออะไร?

สมุด สพฐ. เป็นสมุดสำเร็จ ที่มีความคล้ายคลึงกับสมุดโรงเรียน ทั้งขนาด และรูปแบบ แต่ความแตกต่างจะอยู่ตรงที่หน้าปก เพราะสมุด สพฐ. จะใช้สัญลักษณ์ของ สพฐ. แทนสัญลักษณ์ของโรงเรียน ซึ่งสมุด สพฐ. จะมีราคาที่ถูกกว่า เนื่องจากไม่ต้องจ่ายค่าบล็อกพิมพ์ มีขายแบบสำเร็จรูป พร้อมส่งไม่ต้องสั่งผลิตใหม่

 

สพฐ. คืออะไร?

สพฐ. ย่อมาจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ประชากรวัยเรียนทุกคน ให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีความสามารถตรงตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพระดับสากล

 

ดาวน์โหลด ตราสพฐ

ตราสมุดสพฐ
โลโก้ ตราสมุดสพฐ

ดาวน์โหลด ตราสพฐ แบบเป็นไฟลฺ์ .Ai ลายเส้นขาวดำ Ai และแบบไฟล์รูปภาพ .JPG ไได้ตามลิงค์ด้านล่างเลย

ตราสพฐ แบบเป็นไฟลฺ์ .Ai  -> คลิกเพื่อดาวน์โหลด <-

ตราสพฐ แบบเป็นไฟลฺ์ .Ai (ลายเส้นขาวดำ)  -> คลิกเพื่อดาวน์โหลด <-

ตราสพฐ แบบไฟล์รูปภาพ .JPG -> คลิกเพื่อดาวน์โหลด <-

 

 

สัญลักษณ์บนสมุด สพฐ. มีความหมายว่าอย่างไร?

สัญลักษณ์บนสมุด สพฐ. เป็นสัญลักษณ์ของ สพฐ. ที่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆ โดยแต่ละองค์ประกอบมีความหมายดังต่อไปนี้

  • อักษรย่อ สพฐ. : เป็นชื่อย่อของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  • แถบชื่อเต็ม : เป็นแถบชื่อเต็มของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ซึ่งส่วนที่เป็นอักษรย่อและแถบชื่อเต็ม จะใช้เป็นอักษรทอง  ขลิบข้างแถบทอง บนพื้นเขียว ซึ่งเป็นสีประจำกระทรวงศึกษาธิการ

  • ธรรมจักร : หมายถึงหน่วยราชการขึ้นตรงกับกระทรวงศึกษาธิการ

  • ดอกบัว : หมายถึง ความเจริญทางพุทธิปัญญาและความงอกงามทางการศึกษา

  • พื้นสีส้ม : เป็นตัวแทนของวันพฤหัสบดี ซึ่งโบราณถือว่าเป็นวันครู ผู้วางรากฐานทางการศึกษาให้ถูกต้องและมีคุณธรรม

  • สีทอง : หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองในด้านการศึกษา

 

สีประจำสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( สพฐ. )

สพฐ. มีสีประจำองค์กร 3 สี ซึ่งแต่ละสีเป็นสีประจำของกรมเดิมก่อนจะมารวมตัวกัน ได้แก่

  • สีเทา : เป็นสีประจำกรมวิชาการ

  • สีแสด : เป็นสีประจำกรมสามัญศึกษา

  • สีเขียว : เป็นสีประจำสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

 

สมุด สพฐ. รูปแบบเป็นอย่างไร

ขนาดของสมุด สพฐ. มีขนาดเท่ากับ สมุดโรงเรียน ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐาน 160 x 240 มิลลิเมตร เป็นขนาดที่ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป สามารถจัดเก็บใส่กระเป๋านักเรียนได้ง่าย

สมุด สพฐ. แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

  1. สมุด สพฐ.ปกอ่อน : เป็นสมุด สพฐ. ขนาดมาตรฐาน ที่มีกระดาษด้านในทั้งหมดจำนวน 40 แผ่น

  2. สมุด สพฐ.ปกแข็ง : เป็นสมุด สพฐ. ขนาดมาตรฐาน ที่มีกระดาษด้านในทั้งหมดจำนวน 80 แผ่น

 

การเข้าเล่มของสมุด สพฐ.

ในการเข้าเล่มของสมุด สพฐ. จะสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1.การเข้าเล่มแบบเย็บกลาง : เป็นการเข้าเล่มโดยใช้ลวดเย็บเข้าตรงกลางของเล่มเพื่อให้สมุดมีความแน่นหนา นิยมใช้กับสมุดที่มีความหนาไม่มาก หรือสมุด สพฐ. ปกอ่อน

2.การเข้าเล่มแบบไสกาว :  เป็นการเข้าเล่มโดยใช้กาวยึดบริเวณสันสมุด นิยมใช้กับสมุดที่มีความหนาเกิน 40 คู่ขึ้นไป หรือสมุด สพฐ. ปกแข็ง

 

กระดาษที่ใช้ในการผลิตสมุด สพฐ.

  • กระดาษปกสมุด สพฐ. หน้าปกควรจะใช้เป็นกระดาษอาร์ตการ์ด 200 แกรม ความหนา +/- ไม่เกิน 10% เพื่อให้ได้ปกสมุดสมุด สพฐ. ที่มีคุณภาพ ตัวปกไม่บางเกินไป สามารถพิมพ์หน้าปกได้อย่างคมชัด และสามารถโดนน้ำได้นิดหน่อย

  • กระดาษด้านในสมุด สพฐ.กระดาษภายในสมุดนักเรียนควรเป็นกระดาษปอนด์ 60 แกรม ความหนา +/- ไม่เกิน 10% เพราะเป็นกระดาษมาตรฐานโดยทั่วไปของสมุด สพฐ. สมุด สพฐ. มีลายเส้นให้เลือกหลายรูปแบบ เช่นเดียวกับสมุดโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น สมุด สพฐ. เส้น B (เส้นเต็มบรรทัด), สมุด สพฐ. เส้น D (เส้นครึ่งบรรทัด), สมุด สพฐ. เส้น F (เส้นบรรทัด5เส้น) รวมถึงเส้นแบบอื่นๆ ด้วย ซึ่งสามารถเลือกซื้อได้ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

 

การออกแบบปกสมุด สพฐ.

ในการออกแบบปกสมุด สพฐ. จะแตกต่างจากปกสมุดโรงเรียน เนื่องจากไม่มีแบบที่ตายตัว ทางโรงพิมพ์ หรือผู้จัดจำหน่ายจะเป็นผู้ออกแบบเอง โดยส่วนใหญ่ปกหน้าของสมุด สพฐ. จะมีองค์ประกอบอยู่ 2 ข้อหลักๆ คือ

  1. ตราสัญลักษณ์ของ สพฐ.

  2. ช่องสำหรับใส่ข้อมูล เช่น ชื่อ-นามสกุล , ชื่อโรงเรียน , ชั้น, เลขที่ ,รายวิชา เป็นต้น

ส่วนปกด้านหลังของสมุด สพฐ. ส่วนใหญ่จะเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ หรือมีความเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เช่น สูตรคูณ มาตราชั่ง ตวง วัด เป็นต้น

 

สมุด สพฐ. แล้วใช้ทำอะไรได้บ้าง?

จริงๆ แล้ว สมุด สพฐ. สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเรียนการสอนในโรงเรียนสำหรับโรงเรียนที่ไม่มีสมุดนักเรียน หรือสมุดโรงเรียน ใช้ในการจดเนื้อหาที่เรียน รวมไปถึงใช้ทำการบ้านด้วย นอกจากนี้ สมุด สพฐ. ยังใช้จดบันทึกสำหรับบุคคลทั่วไปได้อีกด้วย

 

ปกหน้า สมุดสพฐ  (ตัวอย่างปก)

[Best_Wordpress_Gallery id=”46″ gal_title=”ปกหน้า สมุด สพฐ”]

 

ปกหหลัง สมุดสพฐ  (ตัวอย่างปก)

[Best_Wordpress_Gallery id=”52″ gal_title=”ปกหลัง สมุด สพฐ”]

 

เส้นสมุด สมุดสพฐ

เส้นสมุด สมุดสพฐ ของเราจะมีให้เลือกแบบ สมุดนักเรียน คุณครูหรืออาจารย์ก็สามารถเลือกแบบเส้น สมุดสพฐ ได้ตามที่ต้องการได้เลย โดยแบบ เส้นสมุด สมุดสพฐ ของเรานั้น จะมีเส้นที่คมชัดมาก โดยมีรูปแบบเส้นดังนี้

เส้นสมุด สมุดสพฐ เส้น B (เส้นเต็มบรรทัด)

เส้นสมุด สมุดสพฐ เส้น D (เส้นครึ่งบรรทัด)

เส้นสมุด สมุดสพฐ เส้น F (เส้นบรรทัด5เส้น)

เส้นสมุด สมุดสพฐ เส้น H (เส้นกราฟ)

เส้นสมุด สมุดสพฐ เส้น คู่

เส้นสมุด สมุดสพฐ เส้น จดการบ้าน

 

สำหรับผู้ที่สนใจสั่งซื้อ สมุด สพฐ. ที่ทั้งคุณภาพดี และราคาถูก สามารเข้าไปเลือกชมได้ที่ ผิดพลาด! การอ้างอิงไฮเปอร์ลิงก์ไม่ถูกต้องมีสมุด สพฐ. ให้เลือกมากมายหลายแบบ ซึ่งโรงพิมพ์ของเราจะออกแบบ ปกสมุดโรงเรียน สพฐ. ขึ้นมาใหม่ในทุกปี เพื่อให้ไม่ซ้ำจากแบบเดิม สวยงาม ทันต่อยุคสมัย สั่งซื้อได้ทันที พร้อมส่ง ไม่ต้องรอผลิตให้เสียเวลา เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานเร่งด่วน ยิ่งสั่งซื้อมากยิ่งได้ราคาพิเศษ รวมถึงยังมีส่วนลดสำหรับหน่วยงานราชการ และมีราคาพิเศษสำหรับเอเจนซี่/ผู้หางาน อีกด้วย คิดต่อ LINE ID : @thamwiwat

 

 


สมุดนักเรียน สมุดโรงเรียน

สมุดนักเรียน
โรงพิมพ์สมุด ราคาถูก

โรงพิมพ์ สมุดโรงเรียน สมุดนักเรียน ปกสวยๆ มีให้เลือกมากมาย ในราคาที่กูก คุณภาพที่่ดี อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

https://www.thamwiwat.com/studentbook-schoolbook/

 

เส้นสมุด สมุดนักเรียน สมุดโรงเรียน

เส้นสมุด 6 รูปแบบ
เส้นสมุด 6 รูปแบบ

เส้นสมุด สมุดนักเรียน สมุดโรงเรียน 6 รูปแบบ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thamwiwat.com/line-book/

 


ติดต่อ โรงพิมพ์ สมุดสพฐ คุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรม